เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลทั่วไป
บุคลากร
-
อ.พลศรัณย์ ศันยทิพย์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และฝึกประสบการณ์วิชาชีพน.ส.จารุณี อินต๊ะสอน
นักวิชาการศึกษา
(งานฝึกประสบการณ์)
-
ระดับความพึงพอใจความพึงพอใจในการใช้บริการเว็บไชต์
-
Statistics
Today
13Yesterday
28This Month
53Last Month
1,071This Year
15,511Last Year
10,494Record: 05/02/2012
-
ขณะนี้มี 1 บุคคล ออนไลน์
![]() 2.1 ความหมาย การฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือการฝึกงาน หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่กระทำร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ทักษะและเจตคติ ที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมและก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.2 ความสำคัญ โดยทั่วไปการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็เพื่อมุ่งหวังการผลิตกำลังคน (manpower) และพัฒนามนุษย์ (manhood) ในระดับวิชาชีพชั้นสูง (professional) หรือระดับกึ่งวิชาชีพชั้นสูง (semi-professional) วิชาชีพชั้นสูงนั้นจะเน้นคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ คือ 2.2.1 มีสำนึกของการบริการสาธารณะมีความผูกพันในหน้าที่ของวิชาชีพ 2.2.2 มีองค์ความรู้และทักษะที่อยู่เหนือความเข้าใจของคนทั่วไป 2.2.3 ใช้ระยะเวลายาวในการฝึกฝนความชำนาญในวิชาชีพ 2.2.4 มีอิสระในการตัดสินใจตามขอบข่ายของงานที่กำหนด 2.2.5 มีการควบคุมมาตรฐานของการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 2.2.6 มีจรรยาบรรณเป็นกรอบในการประกอบวิชาชีพ จากเกณฑ์ทั้ง 6 ประการ การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาชีพ ใดก็ตาม กระบวนการจัดการศึกษาจะต้องสามารถสร้างดุลยภาพระหว่างด้านองค์ความรู้ ด้านทักษะปฏิบัติและด้านคุณธรรม การฝึกประสบการณ์วิชาชีพจึงมีความสำคัญต่อการบูรณาการด้านต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวและมีความประสานกลมกลืนเสริมสร้างคุณลักษณะของผลผลิตทางการศึกษาที่พึงประสงค์ |
สารสนเทศ คณะ